เมื่อชาย - หญิง มีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น ลูกที่เกิดมา กฎหมายถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงฝ่ายเดียว
เมื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรฝ่ายเดียว กฎหมายจึงบัญญัติว่า
มาตรา ๑๕๖๗ ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(๑) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(๒) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(๓) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(๔) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ตาม มาตรา 1567 (4) ที่บัญญัติว่า เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
บุคคลอื่น ในความหมายของมาตรานี้ รวมถึง บิดา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และญาติฝ่ายบิดาด้วย
บิดา หรือ ปูย่า เอาลูกไป ฝ่ายมารดา ย่อมมีอำนาจตามกฎหมายในการเรียกลูกคืน
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร #จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย #ย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1567(1) ถึง (4) #การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
(มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น)