ตาม พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 (3/1) ที่บัญญัติว่า
(๓) การใช้รถยนต์สาธารณะบรรทุกของที่ติดตัวไปกับผู้โดยสาร
(๓/๑)การใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๔) .....
จาก มาตรา 21 (3/1) หมายความว่า รถบบรทุกส่วนบุคคล ก็บรรทุกคนโดยสารได้
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ก็ บรรทุกของได้
รถกระบะทั้งสองแบบใช้แทนกันได้
โดยไม่ต้องพิจารณาว่า จะนั่งแคป หรือท้ายกระบะ
เพราะ มาตรา 21 แก้ไข มาตั้งแต่ ปี พ.ศ 2528 ซึ่งขณะนั้น รถกระบะบรรทุก ยังไม่มีแคป ย่อมแสดงว่า รัฐอนุญาตโดยการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522(ฉบับที่ 5) พ..ศ 2528 ให้คนนั่งรถบรรทุกท้ายกระบะได้
เพราะขณะนั้นรถกระบะไม่ได้มีแคป หรืออาจจะมีก็คงเป็นส่วนน้อย จึงหมายความถึงกระบะท้ายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้จาก หมายเหตุ ท้าย พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม ถึงหลักการณ์และเหตุผลว่า
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จะใช้เป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งผิดไปจากประเภทจดทะเบียนไว้ไม่ได้ เป็นเหตุให้ประชาชนที่สามารถมีรถได้เพียงคันเดียวได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งปัจจุบัน มาตรา 21 (3/1) ยังมีผลบังคับใช้อยู่
เพียงแต่ คนขับรถต้องป้องกันไม่ให้คนสัตว์ หรือสิ่งของ ตกหล่น จากรถ ตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 20
ซึ่งหากใส่หลังคา หรือ คอกสูง ก็ต้องนำไป จดแจ้งขอแก้ไข หรือดัดแปลงสภาพ ต่อนายทะเบียน ลงในสมุดคู่มือรถ ให้ถูกต้องเท่านั้น
อนึ่ง..ถ้าถูกตำรวจเขียนใบสั่ง ในข้อหา " ใช้รถผิดประเภท " ตาม พรบ.รถยนต์ มาตรา 21 ในขณะ โดยสาร ในแคป หรือ ท้ายกระบะ ผมว่า ฟ้องกลับได้นะครับ
เว้นแต่ จะโดนข้อหาอื่น อันนั้นก็ว่ากรณีๆ ไป
ดูคลิป
ที่มา ทนายเกิดผล แก้วเกิด