ห้ามนั่งกระบะหรือไม่รัดเข็มขัดนิรภัยกันแน่ เขียนมาให้ติ่งตู่และนักเกรียนกฎหมายได้อ่าน มีข้อมูลบอกว่า เรื่องห้ามนั่งหลังกระบะมีมานานแล้วเราทำผิดมาตั้ง ๓๘ ปี แล้ว โดยมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ จริงหรือไม่ เอ้าลองอ่านกัน
"มาตรา ๒๐ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของ ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน"
แต่ที่เป็นปัญหาเรื่องห้ามนั่งหลังกระบะ จะมีหลังคาปกปิดหรือไม่ก็ตาม หรือห้ามนั่งในแค๊ป(จนต้องเอาเด็กใส่กล่องตั้งในแค๊ป )นั้น ไม่ได้มาจากมาตรา ๒๐ แต่มาจากข้อ ๒ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๖๐เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พศ. ๒๕๖๐ที่ให้แก้มาตรา ๑๒๓ วรรคสองต่างหาก
มาตรา ๑๒๓ เดิม มีเนื้อความดังนี้
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ “มาตรา ๑๒๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถยนต์ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์เกินสองคน ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ และคนโดยสารรถยนต์ดังกล่าวต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนต์ด้วย
ประเภทหรือชนิดของรถยนต์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัยตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
ซึ่งเมื่อมีการแก้ไขแล้ว ข้อความเป็นดังนี้
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๔/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
มาตรา ๑๒๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถยนต์ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์เกินสองคน ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ และคนโดยสารรถยนต์ดังกล่าวต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนต์ด้วย ประเภทหรือชนิดของรถยนต์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัยตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้น เมื่อเราดูมาตรา ๑๒๓ วรรคสองเดิม ก็จะพบว่า เดิมบังคับการรัดเข็มขัดนิรภัยมีเฉพาะผู้ขับขี่กับผู้โดยสารตอนหน้า(ซึ่งวรรคหนึ่งกำหนดไม่เกิน ๒คน) ซึ่งหมายความว่าบังคับเฉพาะสองคนที่นั่งด้านหน้า ซึ่งไม่บังคับที่นั่งด้านหลัง หากเป็นรถกระบะ คือ ต้องมีการรัดเข็มขัด เฉพาะสองคนด้านหน้า แต่ในแค๊ป ในกระบะหลัง ไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ชาวบ้านจึงนั่งในแค๊ปและหลังกระบะได้ โดยไม่ผิดกฎหมายไงครับ เพราะไม่ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยและไม่มีกฎหมายห้ามนั่งในกระบะ
เมื่อมีการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๔/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พศ. ๒๕๖๐ แก้ไขมาตรา ๑๒๓ ได้แก้ข้อความ ที่ให้คนขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้าเท่านั้นที่ต้องรัดเข็มขัดนิรภัย เป็นให้ทุกคนที่โดยสารรถยนตร์ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ซึ่งหมายความว่าในแค๊ป และ หลังกระบะต้องรัดเข็มขัดนิรภัย
จึงเป็นที่มาของการห้ามนั่งในแค๊ป และห้ามนั่งในกระบะหลังรถไงครับ เพราะในแค๊ปและหลังรถกระบะ ไม่มีเข็มขัดนิรภัย จนเป็นปัญหาใหญ่โตจนรัฐบาลและ คสช.ต้องกระอักเลือดโดนด่าอยู่ในวันนี้ไงครับ
เมื่อมีการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๔/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พศ. ๒๕๖๐ แก้ไขมาตรา ๑๒๓ ได้แก้ข้อความ ที่ให้คนขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้าเท่านั้นที่ต้องรัดเข็มขัดนิรภัย เป็นให้ทุกคนที่โดยสารรถยนตร์ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ซึ่งหมายความว่าในแค๊ป และ หลังกระบะต้องรัดเข็มขัดนิรภัย
จึงเป็นที่มาของการห้ามนั่งในแค๊ป และห้ามนั่งในกระบะหลังรถไงครับ เพราะในแค๊ปและหลังรถกระบะ ไม่มีเข็มขัดนิรภัย จนเป็นปัญหาใหญ่โตจนรัฐบาลและ คสช.ต้องกระอักเลือดโดนด่าอยู่ในวันนี้ไงครับ
ผมมีข้อสังเกตุส่วนตัวหลายประการในการบังคับใช้กฎหมายจราจรทางบกนี้ดังนี้
๑. หากรถกระบะสามารถจัดเข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ผมค้นหาข้อกำหนดใหม่ในปี ๒๕๖๐ไม่พบ สงสัยว่ายังไม่ประกาศ) ตามมาตรา ๑๒๓ วรรคท้าย ได้และสามารถรัดติดที่นั่งในตอนหลังได้ทุกตำแหน่ง ก็หมายความว่า คนสามารถโดยสารกระบะท้ายและในแค๊ปได้ ไม่ว่าจะมีหลังคาหรือไม่ก็ตาม (ไม่รวมทางพิเศษ)
๒. ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องกำหนดประเภทและชนิดรถยนตร์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ที่เป็นไปตามมาตรา ๑๒๓ วรรคท้าย ผมยังไม่เห็น และหาไม่พบ สันนิษฐานว่า ยังไม่มีการประกาศข้อกำหนด ดังกล่าว ดังนั้นจึงมีความเห็นว่า
๒.๑ หากไม่มีข้อกำหนดตามมาตรา ๑๒๓ วรรคท้าย ตำรวจก็ไม่สามารถจับกุมรถกระบะที่มีคนบรรทุกท้ายกระบะและนั่งในแค๊ปได้ เพราะยังไม่กำหนดประเภทไว้ จะใช้ของเดิมก็ไม่ได้เพราะต้องสอดรับกับมาตรา ๑๒๓ วรรคสองใหม่ที่แก้ไข หากยังไม่มีข้อกำหนด ที่จับมาก็กรุณาคืนค่าปรับด้วยนะครับ เพราะเงื่อนไขการบังคับใช้กฎหมายไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่มีการกำหนดประเภทรถยนต์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย เอาไว้ จะเอาหลักเกณฑ์ใด เมื่อฉบับเก่าๆมันใช้กับสองที่นั่งด้านหน้าเท่านั้น
๒.๒ หากมีข้อกำหนดแล้ว ก็มีคำถามเยอะแยะเหมือนกัน เช่น
(ก) รถยนตร์แค๊ปที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๒๑ มีนาคม พศ. ๒๕๖๐ ไม่ควรอยู่ในบังคับของมาตรา ๑๒๓ วรรคสองและวรรคสาม เพราะเป็นรถที่จดทะเบียนก่อนไม่มีเข็มขัดนิรภัยมาแต่ต้น เพราในข้อกำหนดเก่าของตำรวจเช่น ฉบับวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ยังวางหลักให้ประชาชนได้ปรับให้มีเข็มขัดนิรภัยครบโดยใช้เวลาถึง สองปี แต่ทำไมในกรณีนี้จึงไม่ให้มีการปรับตัว บังคับทันที ทั้งที่น่าจะรู้ว่ามีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก
(ข) ที่นั่งในแค๊ปหากจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยตามทีก่ำหนด นั่งได้หรือไม่ หรือยังห้ามอีก
(ค) รถสาธารณะเช่นรถเมล์ของ ขสมก. รถสองแถวจะห้ามรับคน ด้วยหรือไม่เพราะรถเมล์ต้องยืนกันบนรถ(ปลอดภัยมากๆ ชนทีเจ็บตายทุกรอบ) รถสองแถวสาธารณะ(ปลอดภัยตายเทกระจาดเหมือนรถกระบะอื่นๆ) ก็ยืนในกระบะเช่นกัน หากยกเว้น มีมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร ว่าปลอดภัย เลือกปฏิบัติหรือไม่ รถตุ๊กๆ ทำอย่างไร
(ง) อย่างที่บอกว่าหากรถกระบะหากจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยได้ทุกที่นั่งทั้งมนกระบะด้วยต้องวิ่งได้ อย่าใช้วาทกรรมนะว่าห้ามนั่งในกระบะ อีกนะ จะอายเขาหรือเปล่า
๓. การออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๔/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พศ. ๒๕๖๐ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่รอบคอบ ก่อปัญหาการใช้กฎหมายที่ไม่ลงตัวมากมาย สร้างภาระให้แก่ประชาชนอย่างมาก เพิ่มดุลยพินิจตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ลงตัวไม่เกิดความเป็นธรรม
สุดท้าย ขอยกพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ที่พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานวันรพี เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑ เป็นเครื่องเตือนใจ
"...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ..."
และพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสํานักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันเสาร์ ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๔
“…….ผู้มีหน้าที่ในด้านกฎหมายจะต้องคิดอ่านกระทําการให้กฎหมายได้เป็นปัจจัยผดุงความเที่ยงธรรมและสงบสุขอย่างแท้จริง งานนี้เป็นงานหนักและลําบากยากยิ่ง จะทําสําเร็จได้ก็ด้วยความกล้าหาญอดทนและความเพียรพยายาม ทุกคนจะต้องเตรี ยมกาย เตรียมใจให้พร้ อมและมั่นคง ที่จะใช้ความรู้ ความสามารถของตน และที่จะรวมความคิด สติปัญญากัน ต่อสู้เอาชนะอุปสรรคทั้งปวง เพื่อดําเนินงานให้ บรรลุจุดหมาย สําคัญที่สุด ขอให้ถือหลักเหตุผลและความจริง ซึ่งจะนํามาปฏิบัติได้ เป็นหลักปฏิบัติงาน และสํานึก ให้ตระหนักแก่ใจว่า กฎหมายที่เปิดโอกาสให้เบียดเบียนกันได้ มีอคติมิใช่มีความยุติธรรม เป็นรากฐาน การนําบทบัญญัติที่ปฏิบัติไม่ได้ตามสภาพที่เป็นจริ งของชีวิตมาบังคับใช้ เป็นต้นเหตุแห่งความเดือดร้ อนแตกแยกในชาติและประชาชน บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ จะยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นได้ ต้องตราขึ้นตามสภาพการณ์และสภาพชีวิตที่แท้จริง ของบ้านเมืองและบุคคล”คมสัน โพธิ์คง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต